วันพฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2560

วิถีชุมชน สิ่งที่ขาดหายระหว่างทาง ของสังคมไทย

       สภาพของชุมชนในปัจจุบัน โดยเฉพาะในชนบทเรานั้น มักจะพบว่าวิถีชีวิตและความเป็นอยู่เปลี่ยนไปอย่างมากมาย บ้านช่อง ตรอก,ซอก,ซอยมีฝุ่น ขยะ ไม่น่าวิ่งเล่น ไม่น่านั่ง รกร้างปล่อยให้คนแก่อยู่บ้านกับลูกหลานซะส่วนใหญ่ การดำรงอยู่ของชาวบ้านก็ยากไร้ หาได้ไม่เพียงพอต่อภาระค่าใช้จ่าย ซึ่งส่วนหนึ่งก็ต้องออกไปหางานทำไกลบ้าน ส่วนที่อยู่ทำไร่ทำนาก็เหลือน้อยเต็มทน จนจะหาจ้างวานกันไม่ได้ถูกๆแล้ว วิถีชีวิต และวิถีชุมชนดังเช่นในอดีตนั้นหาได้น้อยเต็มที
     สังคมไทยในห้วงที่ผ่านมากำลังพยายามเปลี่ยนผ่านจากสังคมเกษตรกรรม สู่สังคมแบบทุนนิยมหรือสังคมแบบเน้นการบริโภคเป็นหลักภายใต้กติกาบ้านเมืองที่ยังขัดแย้งและแย่งชิงผลประโยชน์ภายใต้ช่องว่างและการเปลี่ยนผ่านกติการัฐธรรมนูญ งบประมาณถูกใช้อย่างสิ้นเปลืองและฉาบฉวย ส่งผลให้ประชาชนระดับรากหญ้าทั้งหลายคุ้นชินกับสภาพการเรียกร้อง และการรอรับการช่วยเหลือเยียวยาจากภาครัฐตลอด สภาพจึงไม่ต่างจากการเลี้ยงลูกผิดวิธีตามใจลูกจนเสียคน สังคมเต็มไปด้วยความออ่นแอ ผู้คนจ้องหาแต่ประโยชน์เฉพาะหน้า 
      แม้ว่าสังคมไทยจะมีรากเห้งาทางวัฒนธรรม และประเพณีที่ลึกซึ้ง แข็งแรง มีภูมิต้านทานทางสังคมที่เพียงพอที่สามารถผ่านวิกฤติทางเศษรฐกิจในหลายครั้งที่ผ่านมาได้ โดยที่ปัญหาเชิงสังคมเช่นความขัดแย้ง อาญชญากรรม ฯลฯ ยังอยู่ในขั้นเอาอยู่ไม่ถึงขั้นล้มเหลวเหมือนชาติตะวันตก หรือแม้แต่ชาติอุตสาหกรรมในเอเชียหลายประเทศ แต่สิ่งเหล่านึ้ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่าปัญหาเชิงสังคมดังกล่าวนับวันยิ่งเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ดูได้จากปัญหาต่างๆ เช่น การฆ่าตัวตาย โรคซึมเศร้า การอย่าร้าง ลูกหลานติดยาเสพติด ยกพวกตีกัน การฉ่อโกง ฯลฯ
      ที่เป็นเช่นนี้เพราะสังคมไทย เป็นสังคมเกษตรกรรมโดยพื้นฐาน มีกรอบทางประเพณี และวัฒนธรรมที่เข้มแข็งเป็นภูมิคุ้มกัน แต่สิ่งเหล่านี้กลับขาดหายไป คนไทยแต่ดั้งเดิมมาไม่ใช่นักธุรกิจ จึงขาดความรู้และเท่าทันในสิ่งยั่วยุให้ก่อหนี้ แม้แต่นโยบายรัฐเช่น รถยนต์คันแรก หรือ แม้แต่บัตรเครดิตชาวนา ซึ่งเป็นลักษณะของการกระตุ้นให้เกิดการบริโภคเป็นหลักแบบโลกเสรีทุนนิยม โดยสังคมและปัจจัยรอบข้างมิได้เอื่อให้เท่าทัน หรือพึงพาตนเองเป็นหลักเลย ปัญหาจึงแยกเป็นสองเรื่องหลักๆคือ ปัญหาด้านความรู้หรือการศึกษา และปัญหาด้านโครงสร้างรายได้ เนื่องจากเกษตรกรเป็นอาชีพที่เป็นปัจจัยต้นน้ำหรือผลิตวัตถุดิบ ก็ย่อมมีราคาต่ำและรายได้น้อยโดยธรรมชาติ แม้บางรายจะพยายามผลิตให้เยอะๆ จนประเทศไทยได้ขึ้นชื่อว่าเบอร์หนึ่งส่งออกข้าว และเบอร์สองด้านยางพารา ในตลาดโลกก็ตาม ก็มิได้ทำให้ฐานะและความเป็นอยู่ของเกษตรกรที่เป็นคนกว่าเจ็ดสิบเปอร์เซ็นต์ของประเทศมีฐานะและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเลย
      หากพิจารณาจากจุดแข็งของประเทศแล้ว แนวพระราชดำรัส"เศรษฐกิจพอเพียง" จึงจะนับว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญมาก ในการที่จะทำให้เท่าทันตนเท่าทันสังคม พึ่งพาตนเองพอประมาณไม่มาก หรือน้อยไป ไม่ต้องทั้งหมดบางส่วนก็ยังดี ซึ่งจะนำไปสู่ 
 "วีถีชีวิตและวิธีคิด" ในบทบาทของความเป็นไทอย่างแท้จริง ท่ามกลางกระแสบริโภคนิยม หรือทุนนิยมอย่างในปัจจุบัน ชีวิตและวีถีไทยโดยแท้แล้วมิได้เร่งรีบ หรือร้อนรนดังเช่นทุกวันนี้ดอก เพราะไม่มีเหตุที่เกิดจากการบริโภคเกินตัว ไม่ว่าจะเป็นผ่อนรถยนต์คันแรก หนี้บัตรเครดิต หนี้เงินกู้และดอกเบี้ย ฯลฯ. ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้จารีตประเพณีหลายอย่างทำไปแบบเสียมิได้ ขับเคลื่อนด้วยงบประมาณท้องถิ่นโดยสิ้นเปลือง มิได้เกิดจากความสุข จากหลักคิดและการร่วมแรงร่วมใจกันโดยธรรมชาติ และเมื่อวัดคือโครงสร้างหลักเป็นศูนย์กลางของสังคมไทยมาตลอด กลายเป็นพุทธพานิชไปโดยปริยาย เพราะปัจจุบันผู้คนต่างกอบโกยเอาบุญอย่างหิวกระหาย และให้ทันอกทันใจด้วยเงินซึ่งกลายเป็นความเคยชินไปซะแล้ว ในระดับครอบครัวและชุมชน บ้านใกลเรือนเคียงแต่เดิมมา ต่างนับญาติ เป็นลูกเต่าเหล่าหลาน เป็นน้า เป็นอา เป็นลุง เป็นป้ากันทั้งชุมชน จึงทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง ไม่มีเหตุการข่มขืน ปัญหาอาจชญากรรม เช่นทุกวันนี้ เมื่อไป
ใหนก็ไม่เป็นสุข ขยับไปใหนก็เสียเงินเป็นหลัก ขับรถช้าปาดหน้ากันก็ควักปืนมายิง ต้องทำงานหนักปล่อยลูกเผชิญโลกกว้างในยุคที่แม้แต่พอแม่ยังไม่เข้าใจ ไม่เท่าทัน แล้วสองมือน้อยของลูก จะมีสิ่งใดได้ยึดเกาะ หรือแม้จะสำนึกระลึกถึงด้วยไม้เรียว
                                                สมชาย  นามขยัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น