วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

วิถีชีวิต วิธีคิด

    มเติบโตบนแผ่นดินอีสานจังหวัดบุรีรัมย์ตําน้ํากิน แน่นอนว่าเด็กอีสานก็ย่อมซึมซับวิถีชีวิต เดิมๆ กลิ่นไอของเด็กบ้านนอกได้ดี บนพื้นที่ปลายสุดของบุรีรัมย์ที่เมื่อก่อน มีความขัดแย้ง ในภาคพื้นอินโดจีน ที่ซึ่ง ยังเต็มไปด้วยคอมมิวนิสต์ ผู้คนหลั่งไหลหักล้างถางพง จับจอง ที่ทำกิน หลายครั้งเป็นความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับชาวบ้าน เมื่อเขตหวงห้ามป่าดง คือความขัดแย้ง ผมยังเล็กยังจำได้ว่า มีหัวโจกอยู่ 3-4 คนหนึ่งประท้วง จริงจัง อีกคนหนึ่ง โดนอุ้มไปเจรจา เรื่องจึงเป็น ความหักหลังกัน ในหมู่ชาวบ้าน การเมืองท้องถิ่น ก็เริ่มจากตรงนั้น ผู้คนจากหลายหมู่บ้านมาอยู่รวมกันนับหมื่นคน ปัญหามันย่อมเยอะ เมื่อมีความขัดแย้งระดับประเทศหลายครั้ง ที่คนในพื้นที่นี้ มีเอี่ยวด้วยเสมอ ไปร่วมด้วยเสมอ เพราะเรื่องผลประโยชน์ไม่เข้าใครออกใครเป็นวิถีชาวบ้าน แต่การบริโภค เป็นโลกของทุนนิยม เมื่อความจนเข้ามาเยือน การตัดไม้สร้างบ้านเรือน เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง ผมจำได้ครอบครัวนึงเห็นลูกสาวซักเสื้อผ้าลำบากเหลือเกิน ถึงกับขายบ้านเสา 12 ต้นนำเงินไปแลกกับเครื่องซักผ้า ธรรมดา 2 ถังปั่นราคาไม่กี่บาทจนแม่ยายบอกว่า วันหลังให้ขุดหลุมแล้วเข้าไปอยู่หาอะไรมุงนิดหน่อยก็พอมันจะได้ไม่ขายบ้านอีก เมื่อเด็กเล็ก ก็จำต้องตามพ่อแม่ไปไร่นา เพราะไม่มีคนอยู่เฝ้าเลี้ยงดู หรือโตหน่อยก็เป็นแรงงานเกษตรแม้ขาดเรียน ไม่กี่วัน สังคมหมู่บ้านชนบทก็ไถ่ถามเพื่อนล้อเลียนเพราะไม่ทันเขาเมื่อโดนล้อว่าโง่บ่อยเข้าก็หลบหน้าไม่มาเรียนแม้ครูไปตามก็วิ่งหลบวิ่งซ่อนชีวิตเปลี่ยนเพราะด้อยโอกาสทางการศึกษาไม่ใช่รัฐไม่ให้ แต่โครงสร้างทางสังคมไม่เอื้อ เมื่อเด็กโดนครูบางคนว่า พ่อมึงเป็นนายกไม่ต้องมาเรียนแล้วก็ได้มั้ง ที่มีลักษณะนี้เพราะครูเองก็เป็นหัวคะแนนบ้างก็ญาติ บ้างก็ภรรยาลงสมัครผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านชุมชนแบ่งแยกด้วยหัวคะแนน เด็กบ้านนอกพื้นฐานบางคนเรียนเก่งหัวดีแต่เจอข้อจำกัดทาง สังคมแรงกดดัน 1 เจอข้อจำกัดด้านเศรษฐกิจแรงงานภาคเกษตรอีก 1 ทุกวันนี้ค่าครองชีพสูง ค่าแรงวันละ 300 ชาวบ้านถ้าไม่เห็น 300 ก็ไม่ขยับไม่ไปช่วยวิถีชีวิตแบบเก่าๆที่เคยลงแขกเกี่ยวข้าวช่วยกันมันเลือนหาย แม้แต่ควายเหล็กหรือควายที่เลี้ยงทุ่ง ก็หายโดนขโมย โดนรถขนเอาไปดื้อๆกลางท้องนา คนไหนเห็นก็คิดว่าเจ้าของขายสรุป โดนโขมยต่อหน้าต่อตา แม้แต่ตั้งใจอาสามารับใช้พี่น้องแต่ถ้าเงินไม่มา เข้าคูหา ก็กาไม่เป็น หรือนี่คือ ปฐมบทของปัญหา การเมือง ไทย
หวนคิดถึงคำ ที่พ่อสอนให้พอเพียง เราเป็นประเทศเกษตรกรรม ต้องเป็นอยู่แบบพอเพียง มีอุดมสมบูรณ์แล้วค่อยขาย ไม่ใช่วิถีบริโภคนิยมเหมือนตะวันตก พ่อเคยสอน ให้ความสำคัญเรื่องแหล่งน้ำ แม้แต่ธนาคารน้ำใต้ดินที่พ่อเคยพูด เขื่อนต่างๆ ที่พ่อได้สร้างทำ นั่นคือต้นทุน คือ รากฐานที่มั่น ที่พ่อได้สร้าง เราไม่เคยคิดไม่เคยตั้งใจเรียนรู้ สิ่งที่เราทำเป็นสังคมบริโภคนิยมแต่ โครงสร้างรายได้แบบเกษตรกร ค่าใช้จ่าย ค่ากิน ค่าอยู่ค่ามือถือราคาแพงสารพัด
ที่เป็นเช่นนั้นเพราะเราหลงลืมรากเหง้าตัวเองดังโบราณท่านว่า "ตั้งใจเรียนขยันขยันๆนะลูกโตขึ้นจะได้เป็นเจ้าคนนายคน" ฟังดูเรียบง่ายน่าเบื่อแต่นัยยะคืออะไรคนมีปัญญาต้องรู้ว่าวิธีสอนลูกคือการชี้ผลสัมฤทธิ์ให้เห็นชี้เป้าหมายให้ดูมีตัวอย่างข้างบ้านให้เห็นไม่ต้องเคี่ยวเข็ญให้ลำบาก เด็กมันขนขวายตั้งใจเรียนเอง แม้เมื่อก่อนหนทางทุรกันดารโรงเรียนห่างหมู่บ้านหลายกิโลเมตรบ้างก็เรียน
กับพระครูบวชเณร ความรู้ไม่เท่าไหร่หรอก เรียกว่าการอบรมและบ่มนิสัยไม่ใช่อบรมอย่างเดียวแล้วด่าว่าเราก็เห็น กับตา ว่าหลายคนได้ดีไปดูนายอำเภอ ปลัด ผู้ว่า มีแต่เด็กวัดกินข้าววัด ไปเรียนต่อก็อาศัยวัด ทั้งสิ้น ผมถึงว่าโครงสร้าง หมู่บ้านชนบท และวิธีคิด จำต้องเริ่มต้นที่วัด พูดง่ายๆนับหนึ่งที่วัด แต่วิธีคิด มันต้องได้ พระดีๆเดี๋ยวนี้หายาก ตั้งใจทำดีกันจังหาเงินเข้าวัด เมื่อสังคมเปลี่ยนแต่โครงสร้างรายได้ไม่เปลี่ยน มันก็เละสิครับ รัฐก็อุ้มเข้าไป เดี๋ยวก็เงินประชารัฐ เดี๋ยวก็ชิมช้อปใช้ เดี๋ยวก็เยียวยา Covid19
เมื่อสังคมเปลี่ยน บริบทต้องเปลี่ยนหรือไม่ เมื่อลืมตามาดูโลก เต็มไปด้วยข้อจำกัด ที่ผู้ใหญ่สร้างไว้ ประเทศที่เต็มไปด้วยใบอนุญาต ทำอะไรก็ต้อง ลงทะเบียน เมื่อเด็ก มันไปไม่ได้ เจอแต่ข้อจำกัด สังคมยุคใหม่ จึงเต็มไปด้วยปัญหา และก็ด่าว่าเด็ก ที่จริงแล้ว มันโลกคนละใบ รุ่นเราโตมา กับท้องไร่ท้องนา ชนบท แต่เด็กยุคใหม่ 2 ขวบ 3 ขวบ เล่นมือถือค้น Google เล่น YouTube แนะเราอีก สินค้าหาไม่เจอสั่งทางอินเตอร์เน็ตสิ วิสัยทัศน์มันคนละ อย่าง โลกของเด็ก ที่เต็มไปด้วย ข้อมูลและ โลกของดิจิตอล Application แต่กรอบ ที่ผู้ใหญ่ ตีไว้ มันชอบหรือยัง นั่นทำไม่ได้ นี่ก็ห้าม นุ่นก็กฎหมาย ไม่แปลกใจ ที่คนหัวซ้ายวัยรุ่น ขยับการเมือง แล้วได้ใจ เด็กรุ่นใหม่ๆ เพราะผู้ใหญ่พูดคนละภาษา อยู่คนละโลก หรือว่าใครไม่ทันใครกันแน่