วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2567

จากวิถี..สู่เชิงตะกอน

         วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ ทั้งปัจจุบัน และในอดีตนั้นต่างมี จุดเด่นจุดด้อย มีจุดแข็ง และจุดอ่อน แตกต่างกัน อย่างเช่นในอดีตนั้น สารเคมีอาจจะไม่ได้จำเป็นการใช้ก็ยังไม่แพร่หลายมากนักวิถีชุมชนที่แข็งแรงเป็นเกราะป้องกันสืบทอดองค์ความรู้การปรุงหรือจุดแข็งของอาหารไทยสืบทอดลงมายังลูกหลานได้ดีกว่า เพราะกรอบของวิถีชีวิต วิธีคิดที่ดีส่วนในปัจจุบันนั้น ระบบนิเวศ ทางโภชนาการเปลี่ยนไปอย่างมากมายอาหารแปรรูปอาหารปรุงซ้ำ สิ่งที่เป็นสารพิษสารเคมีก็มากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตในเชิงพาณิชย์ซึ่งต้องเอาปริมาณเอาข้อจำกัดด้านเวลา การใช้สารพิษจึงมีมากขึ้นทั้งในกระบวนการผลิต กระบวนการวัตถุดิบ และกระบวนการปรุง กระบวนการกระจายสินค้า หากมีภูมิคุ้มกัน ทางด้านองค์ความรู้เริ่มมาตั้งแต่ครรภ์มารดา ถึงชุมชนนั้นนอกจากจะต้องมีกรอบ ในเชิงสังคมและการเอื้ออาทรกันทั้งองคาพยม จะต้องตระหนักรู้ถึงผลกระทบที่มิใช่เพียงรายได้ด้านเศรษฐกิจ หากแต่ยังต้องดูโครงสร้างทั้งด้านกฎหมายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่กระจุกตัวอยู่ส่วนกลางระบุผู้รับผิดชอบส่วนไหนไม่ได้เลย และอีกทั้งยังต้องเอื้อต่อเกษตรกรรายย่อย ในการส่งเสริมการผลิตที่ถูกต้องไม่ว่าจะเป็นด้านการเกษตรและการปศุสัตว์ ให้นำมาใส่ใน กระบวนการของสังคมและชุมชนที่คนอาศัยเพื่อกระจายความรับผิดชอบและการตระหนักรู้ถึงพิษถัยที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนในหมู่บ้านและชุมชน ในส่วนของผู้คุมและรัฐบาลเรียกว่าซอฟต์ Power นั้น หันไปดูก็ไม่มีใครเป็นหลักในความรับผิดชอบ ในเชิงอุตสาหกรรมเรามี อย. เชิงการตลาด ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร,โรงแรม,รีสอร์ท,วัด,โรงเรียน กลับไม่มีใครดูแลในเรื่องพิษภัยนั้น เห็น ตามที่มีข่าว ก็บุกจับในขณะที่ส่งผลกระทบต่อผู้ บริโภค เป็นจำนวนมากเช่น เนื้อ หมัก ฟอร์มาลีน หมูกระทะ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้มิใช่เพียงแต่ พระเดชแต่ยังต้องมีพระคุณด้วยในแง่ของผู้ทำดีต้องมีดาวมีมาตรฐานมาการันตีให้และกระบวนการตรวจสอบตรวจทานก็ต้องมีผู้รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง ถามว่าหากกลไกการถ่ายโอนลงสู่ท้องถิ่นไม่สมบูรณ์ใครรับผิดชอบไหวในขณะที่การกระจุกตัวของอำนาจหน้าที่ยังคงมีอยู่ ในส่วนของผลกระทบเอง ก็มีความสำคัญไม่ใช่น้อย โรงพยาบาลเต็มไปด้วยผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ncd หรือโลกไม่ติดต่อ อาจเป็นวิธีคิด องค์ความรู้ ไม่ได้เท่าทันการบริโภค และอาหารปรุงรูปแบบใหม่ๆที่เข้ามาตลอดเวลา ส่วนรพ. สต ที่เป็นที่พึ่งพาของหมู่บ้านชุมชนก็ไม่ได้มีความชัดเจน ว่าจะกระจายลง สู่ท้องถิ่นหรือจะ ให้อบจ.รับผิดชอบ นอกเหนือจากกรอบ เงินงบประมาณและบทบาทหน้าที่แล้วช่องว่างอีกเยอะที่ต้องช่วยกันคิดช่วยกันทำ ถ้าไม่ได้ติดค้างคาสิ่งใด งานเกษตรงานปศุสัตว์จะถูกส่งเสริมอุดหนุนโดย "โครงการอาหารกลางวันโรงเรียน", ศูนย์เด็กเล็ก, และโรงพยาบาล, รพ. สต ที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มรูปแบบและมีความปลอดภัย หากแต่วันนี้แม้แต่นมโรงเรียน อบต.ผมยังซื้อข้ามภูมิภาคต้องรอใบแจ้งจัดสรรคงต้องขอฝากไว้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง คิดว่าเราต่างรู้ปัญหาพอๆกันครับ ต่างที่ว่าติดขัด ที่ตรงไหน หรือที่ผลประโยชน์ต่างหากที่ไม่อยากพูดถึง วิถีชุมชน กลไกของท้องถิ่น ต้องสร้างระบบนิเวศ ที่ดี ที่เอื้อต่อการบริโภคอย่างปลอดภัย โภชนาการที่ถูกต้อง และที่สำคัญ ระบบอาหารและโภชนาการเท่าที่เห็น ไม่ได้ใช้ใครฟรีๆ มีผลกำไร มีรายได้ทางเศรษฐกิจต่อเนื่องในทุกเรื่องทุกประเด็นลงสู่พี่น้องประชาชน ก็ฝากท่านนักการเมืองผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายด้วยครับ 

        นอกจากทรัพยากร รอบข้างที่เกี่ยวข้องแล้ว ก็ยังมีวิถีชีวิต วิถีชุมชน อีกประการหนึ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ร้อยเรียงเรื่องราว เกี่ยวกับ โภชนาการและการกินการอยู่ ซึ่งอาจมีข้อแตกต่างตามภูมิประเทศ วัตถุดิบ วัฒนธรรมการกิน ที่ผิดแผกไปบ้าง แต่ในสภาพ สังคมปัจจุบันนี้ เต็มไปด้วยความเร่งรีบ ผู้เป็นพ่อแม่ผู้ปกครอง โดยเฉพาะในชนบท ต่างต้องรีบเร่ง ออกไปทำงานแต่เช้า ผู้คนส่วนใหญ่ไม่ได้มีเวลาเตรียมอาหารเช้าอย่างมากก็หุงข้าวส่วนที่เหลือก็ซื้อกิน ในสังคมชนบทนั้น พ่อแม่ส่วนใหญ่ อยู่ในวัยรุ่นๆ มีบุตรธิดา ราว 2 ขวบไม่เกินนั้นส่วนใหญ่ ก็เห็นฝากศูนย์เด็กหลายคนในแต่ละปี ส่วนผู้ ผู้ปกครอง รับจ้างส่วนใหญ่ก็ห่อไปแต่ข้าวไปทำงาน ซื้อกับข้าวเอาข้างหน้าหรือไม่ก็ซื้อทั้งข้าวทั้งกับข้าว สะดวกรวดเร็วกลับจากทำงานราว 5 โมงเย็นภาระหลายอย่างรออยู่ ปรุงอาหารทำกับข้าว ก็เป็นเรื่องลำบาก สะดวกคือซื้อจากร้านค้าในชุมชนหรือตลาด คลองถม ส่วนปัจจัยต้นน้ำณ.วันนี้คนปลูกผัก ปลูกพืช ไม่ได้กินส่วนที่ตนเองนั้นปลูกส่งตลาด แต่จะแบ่งส่วนหนึ่งปลูกใว้ต่างหากปลอดสารพิษเอาไว้กินเอง ปัจจัยที่ชี้วัดหลายตัวเราเห็นภาวะความอ่อนแอของร่างกายหลายอย่าง แค่เพียงก้าวสู่ วัยกลางคน เริ่มตั้งแต่เบาหวานความดัน ตับมะเร็งตามมาเป็นชุด ส่วนผู้สูงอายุนั้นก็ตายก่อนวัยซะส่วนมากหลังจากที่ผ่านพ้นโควิดมาบางส่วนก็นอนเป็นผักติดเตียง  ในขณะที่บุคลากรนักโภชนาการที่บรรจุในท้องถิ่นทั่วประเทศมีเพียง 3 คนถ้าชี้ว่าโครงสร้างก็ถูก ชี้ว่าการศึกษาก็ถูกอีก ผมถามว่ามีเด็กจบป.ตรี ถ้าไม่ได้เรียนสายตรง จะมีสักกี่คนที่มีพื้นฐานด้านนี้ สมัยก่อนเด็กๆรู้จักหม้อ,ไห,ถ้วย,ชาม,กะละมัง,หม้อ,กระต่ายขูดมะพร้าว เมื่อไม่นานมานี้ผมพาลูกหลานที่อยู่ในเมือง ไปดูทุ่งข้าวเขียวขจี บอกว่าข้าวที่อยู่ในหม้อหุงข้าวไฟฟ้าก็คือทุ่งข้าวนี่แหละ ปรากฏว่าเขาไม่เชื่อหัวเราะใส่ผมพื้นฐานก็ไม่มี วิถีชีวิตเปลี่ยนไปอย่างมากมายเมื่อก่อนพ่อแม่ทำกับข้าวอยู่ในครัว ลูกก็ล้างจานหุงข้าว วันหนึ่งผมอยากกินน้ำพริกกะปิ ก็งงตัวเองว่าทำไมทำได้ทำเป็นและอร่อยด้วย มันคือความซึมซับ ถ้าภาครัฐจริงใจก็ควรแก้ไขปัญหา ตั้งแต่กรอบอำนาจถ่ายโอน กรอบโครงสร้างทั้งระบบ และหลักสูตรการศึกษา ไม่ใช่จะซื้อนมแต่ละที มีคนขายไม่กี่เจ้า ต้องรอ ก่อนใบแจ้งจัดสรรในขณะที่เกษตรกรเลี้ยงวัวเยอะแยะ ทำไมไม่สร้าง จุดรับนมซัก 4 มุมเมืองในแต่ละจังหวัด

      ณ. วันนี้ยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายด้านซอฟพาวเวอร์ที่สำคัญของรัฐบาลคงต้องมีการถกเถียงการหารือและขับเคลื่อนในทุกหน่วยงานเพื่อสร้างระบบ โครงสร้าง และระบบนิเวศ ด้านอาหารและโภชนาการอย่างจริงจัง สร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้องให้กับประชาชนทั้งหลักสูตรการศึกษา บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งก็เป็นผลดีต่อทั้งการส่งเสริมการท่องเที่ยว, ระบบเศรษฐกิจฐานราก ในการหาเบ็ดให้ตกปลา ดีกว่าแก้ปัญหาแบบกำปั้นทุบดิน แจกเงินดิจิตอลคนละหมื่นบาท คงต้องตอบหลายปัญหาในรุ่นเรา เพื่อไม่ให้ค้างคาใจ ก่อนลงไปสู่เชิงตะกอนแบบไม่เป็นสุข..


    

                                                                      สมชาย นามขยัน