วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ทำไม..ประชาธิปไตยแบบไทยๆจึงไม่ช่วยแก้ปัญหา


ทำไม..ประชาธิปไตยแบบไทยๆจึงไม่ช่วยแก้ปัญหา

ทำไม..!การเลือกตั้งจึงไม่ใช่ทางออก

 

 

                ประเทศไทยวันนี้..ดูเหมือนว่าปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้ามากมายเริ่มพบกับปัญหาใหม่ๆที่ซับซ้อนขึ้นบ้าง ก็ตามนวัตกรรมการเมือง   และมีคลี่คลายไปได้บ้าง ก็ยังดีกว่าช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ที่ปัญหาต่างๆอันเกี่ยวเนื่องกับการเมืองได้ถูกทับถมเหมือนดินพอกหางหมูมานานนับสิบปี ซึ่งผู้คนในบ้านนี้เมืองนี้รวมถึงแรงกดดันจากนานาประเทศ ต่างก็ฝากความหวังไว้กับประชาธิปไตย และหัวใจที่สำคัญที่หลีกหนีไม่พ้นคือ  การเลือกตั้งตามระบบประชาธิปไตยนั้นเอง แล้วเหตุใดการเลือกตั้งจึงไม่ใช่ทางออกของปัญหาให้กับประชาชน ทั้งที่ประเทศไทยก็ผ่านการเลือกตั้งมาหลายสิบปีผ่านกติการัฐธรรมนูญมานับสิบฉบับ

                ถ้าหากเราเข้าใจกลไกลการเลือกตั้งก็จะพบว่าการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยนั้น เปรียบเสมือนการบังคับประชาชนให้ต้องขอบคุณนักการเมืองซะก่อนที่จะทราบว่า ทำไมหรือนักการเมืองได้ทำอะไรไว้ให้พวกเขา เพราะต้องกา X ลงคะแนนเลือกผู้ชนะซะก่อนที่เปรียบเสมือนบังคับให้ประชาชนหาผลลัพธ์ซะก่อน ที่จะทราบว่าเขาจะได้อะไร ทั้งที่ส่วนสำคัญ คือวิสัยทัศน์และคุณสมบัติต่างๆของผู้สมัครที่มิได้ถูกสะท้อนออกมาจริงในกระบวนการๆเลือกตั้ง หากมีแต่แนวนโยบายที่เป็นเพียงคำพูดประชานิยมที่สร้างผลกระทบอย่างมากมาย และประปฏิบัติจริงไม่ได้ซะส่วนใหญ่

 

                จากภาพด้านบนเป็นการจำลองกลไกลการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยของบ้านเราที่ดูง่ายๆว่าหากหวังชัยชนะจากการเลือกตั้งนั้นต้องมีเหตุปัจจัยอันไดบ้างมีส่วนใดเกี่ยวข้องและทรัพยากรใดบ้าง ก็จะพบว่าแม้ผู้สมัครจะประสบกับชัยชนะแล้วก็ตาม เราก็ไม่เห็นว่ามีกลไกลใดจากตัวแบบด้านบนที่ตอบได้ว่านี่ไง..ประชาชนได้รับสิ่งนี้ สิ่งที่ดีสำหรับเขาและลูกหลาน     เพราะการเลือกตั้งเป็นคนละเรื่องกับการทำงานเพื่อประเทศชาติประชาชน เป็นแต่บันใดขั้นแรกที่จะก้าวเข้าไปเพื่อหาทุนรอนสำหรับการเลือกตั้งใหม่ในครั้งต่อไปต่างหาก  หากเปลี่ยนโลกทั้งใบแล้วยังไม่ตอบโจทย์ก็คงต้องกลับมาดูที่ตัวเองแล้วละ กับคำง่ายๆ “จริยธรรม” ของนักการเมือง..

                                                                                                                                                                สมชาย  นามขยัน/

วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2564

แนวปฏิบัติงานวิถีพุทธ (พละ5)

 พละ 5 แนวทางการปฏิบัติงานทางสายกลาง (โสดาบันโมเดล)

1.           ศรัทธา

1.1 ศรัทธาต่อตนเอง ปณิธานเป้าหมายในชีวิต

1.2 ศรัทธาต่อบทบาทหน้าที่ งานที่ได้รับมอบหมาย

1.3 ศรัทธาต่อเป้าหมายองค์กร นโยบาย วิสัยทัศน์องค์กร

2.           วิริยะ

    2.1      ทำตนให้สมบูรณ์พร้อมต่อการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ทำตนให้เป็นภาระต่อองค์กร

    2.2      มีวิริยะต่อหน้าที่การทำงาน ต่อบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

    2.3      มีวิริยะต่อการเสียสละเพื่อส่วนรวม ช่วยเหลือ แบ่งปันสม่ำเสมอ

    2.4      มีวิริยะต่อความดีงาม คุณธรรม จริยธรรม

3.           สติ

3.1 มีสติสัมปชัญญะพร้อมต่อหน้าที่เสมอ

3.2 อย่าคิดว่าสิ่งนี้จริงสิ่งอื่นไม่ ใช้สติใคร่ครวญด้วยเหตุผลเสมอ

3.3 อย่าใช้อารมณ์เหนือเหตุผล มีสติในการปฏิบัติหน้าที่

3.4 มีสติรู้ถึงคุณธรรม จริยธรรม ความดีงามอย่างมั่นคง

4.           สมาธิ

4.1 มีสมาธิจดจ่อต่อหน้าที่ไม่ทำจิตและวาจาให้ฟุ้งไป

4.2 มีสมาธิต่อคำสั่งการมอบหมายงานในหน้าที่ของผู้บังคับบัญชา

4.3 น้อมนำสติของคนในองค์กรให้อยู่ในทิศทางที่ถูกต้องหากต้องเผชิญกับปัญหา

5.           ปัญญา

5.1 เปิดมุมมองการเรียนรู้ สั่งสมสุตตะอย่างสม่ำเสมอ

5.2 ใช้ปัญญาในการพัฒนาองค์กร และการปฏิบัติหน้าที่ตามนโยบายให้บรรลุผล

5.3 ส่งต่อภูมิปัญญา พร้อมต่อการเป็นผู้ให้และผู้รับที่ดี

วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

การบริหารแนวทางสายกลางวิถีพุทธ (โสดาบันโมเดล)

 การบริหารแนวทางสายกลางวิถีพุทธ (โสดาบันโมเดล)

1.            ศรัทธา

1.1      มีศรัทธาต่อองค์กร,วิสัยทัศน์และแนวนโยบายองค์กร

1.2      มีศัทธาต่อวิชาชีพ (ทำการงานไม่เครียดคัด)

1.3      มีศัทธาต่อผู้ร่วมงานบุคคลในสายงาน,ทีมงาน

2.            ศีล

2.1      พูดถูกต้อง (วาจาดังหอกปาก)

2.2      ทำสิ่งที่ถูกต้อง

-                   ยึดหลักคุณธรรม (สิ่งอันเป็นคุณประโยชน์ที่คนในสังคมองค์กรยอมรับ)

-                   ยึดหลักจริยธรรม (ข้อวัตรปฎิบัติที่ถูกต้องที่สังคมองค์กรรับได้)

-                   เข้าใจและรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่อย่างเคร่งครัด

3.            สุตตะ

3.1      มีโลกทัศน์ที่เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น

3.2      อย่ายึดติด เห็นว่าสิ่งนี้จริงสิ่งอื่นไม่

3.3      แสวงหาความรู้ สั่งสมภูมิปัญญาและความเชี่ยวชาญสม่ำเสมอ

4.            จาคะ

4.1      เป็นผู้ให้สิ่งที่ควรให้ แก่บุคคลที่สมควรไม่หวังสิ่งตอบแทน

4.2      เป็นผู้ควรแก่การให้และเป็นที่พึ่งพา ต่อลูกน้องทีมงานและองค์กร

4.3      การทุ่มเทให้ลูกน้องทีมงานและองค์กรอย่างเต็มกำลังความสามารถ

5.            ปัญญา

5.1      เห็นถูกต้อง เห็นภาพรวมและทิศทางองค์กรที่ถูกต้อง

5.2      คิดถูกต้อง รู้จักคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ เหตุที่มาของปัญหาและปัจจัยความสำเร็จ

ร่วมแบ่งปันความรู้ภูมิปัญญาแก่ลูกน้อง,ทีมงานและองค์กรสม่ำเสมอ