วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ถนนสายลำนางรอง "348"

    เพราะ 348 คือถนนหนึ่งในสองเส้นที่ถูกตัดขึ้นท่ามกลางความขัดแย้งของมหาสงครามเอเซียใต้ ใน
ยุคที่ประชาธิปไตยกำลังฟัดกันกับระบอบคอมมิวนิส นอกเหนีอจากถนนมิตรภาพที่อเมริกาช่วยสร้างขึ้น
แม้ว่าถนน 348 จะมีระยะเชื่อมต่อไปย้งอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้วในปัจจุบันเป็นระยะทางเพียงสั้นๆ
50 กิโลเมตรก็ตาม แต่เป็นเส้นทางที่มีเรื่องราวและความเป็นมาที่ลึกซึ้งและยาวนานกระทั้งปัจจุบัน
    ถนน 348 ถูกสร้างขึ้นท่ามกลางดงระเบิด ซึ่งมีลักษณะเป็นป่าทึป แม้ตอนนั้นจะมีการแผ้วถางทำไร่กัน
แล้ว แต่กว่าจะเป็นถนนเส้นนี้ได้ก็ต้องสูญเสียทั้งผู้คนราษฎร,เจ้าหน้าที่,เครื่องจักร เป็นจำนวนมาก แต่สิ่ง
ที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ของถนนเส้นนี้ก็คือ "ช่องเขาตะโก" จุดที่เรียกว่าผาแดงในปัจจุบัน ซึ่งเป็น
ลักษณะช่องแคบ ด้านบนเป็นผาสูงเหมาะแก่การซุ่มยิง และโรยตัวมาดักปล้น ทำให้เกิดการปะทะและ
สูญเสียขึ้นบ่อยครั้ง จนเป็นที่มาของหมู่บ้านหนองเสม็ดและสถานีอนามัย ตอนนั้นชาวบ้านเริ่มเข้ามาอยู่
อาศัยกันพอสมควรแล้ว ราวสี่หมู่บ้าน(ป่าไม้,คลองโปร่ง,ลำนางรอง,โคกเพชร)ซึ่งหลายครั้งที่ชาวบ้านถูก
จับ ถูกปล้น กระทั้งถึงกับเผาหมู่บ้านกันทีเดียว(บ้านโคกเพชร) ผู้คนต่างแตกกระเจิงขึ้นมาพำนักที่บ้าน
โนนดินแดง(ขณะนั้นยังไม่เป็นอำเภอ) นี่เป็นพอสังเขปกว่าจะเป็นถนน 348 ก็ต้องสูญเสียเจ้หน้าที่,ทหาร
ชาวบ้านเป็นจำนวนมากจนเป็นที่มาของการสร้างอนุเสาวรีย์เราสู้ในปัจจุบัน
    ถนน บร.348 ถูกปิด 2 ครั้งครั้งแรกเกิดการบุกรุกตั้งหมู่บ้านในเขตป่าดงใหญ่ จนชาวบ้านในเขตพื้นที่
โดยเฉพาะบ้านหนองบอน และบ้านฐานเจ้าป่าต้องประท้วงขับไล่และปะทะกันกับเจ้าหน้าที่ กระทั้งเกิด
การประท้วงปิดกันถนน 348 ขึ้นซึ่งหลังจากนั้นจึงนำมาซึ่งการตกลงถอยคนละก้าว มีเส้นแบ่งกันระหว่าง
ป่ากับบ้านหนองบอนเกิดขึ้น และยุบหมู่บ้านที่ตั้งอาศัยในเขตป่าดงใหญ่ออกซึ่งก็พอเห็นร่องรอยได้บ้าง
ตามกาลเวลา และครั้งที่สองเกิดขึ้นเมื่อมีการปักเขตอุทยานแห่งชาติแบบมัดมือชก ไม่มีชาวบ้านคนใดรู้
เห็นหรือทราบข่าวคราวล่วงหน้ามาก่อนเห็นแต่เพียงหลักคอนกรีตที่ระบุว่าเป็นเขตอุทยาทแห่งชาติฯวาง
เกลื่อนอยู่ข้างทาง จนเกิดการประท้วงเรียกร้องปิดถนน
   ถนนสาย บร.348 เป็นถนนเส้นยุทธศาสตร์ที่สำคัญ และเป็นถนนสายเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงระหว่างภาค
ตะวันออกและภาคอีสานโดยเฉพาะอีสานตอนล่าง มีชายแดนติดประเทศเขมร และต่อไปยังประเทศลาว
ได้ใก้ลที่สุด ซึ่งทวีความสำคัญขึ้นทุกวันโดยเฉพาะนโยบายที่สำคัญของหลายรัฐบาล คือเขตเศรษฐกิจ
อาเซียนหรือ AEC อันเป็นส่วนสำคัญที่จะก้าวสู่ความเจริญยุค 4.0 ดูจากความหนาแน่นของการจราจร
ในช่วงปกติที่เห็นได้ชัด โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสำคัญอย่างวันหยุดปีใหม่,สงกรานต์ รถแทบไม่มีช่อง
จราจร ติดขัดจนกระทั้งทางอำเภอและท้องถิ่นต้องจัดเวรยามดูแลความปลอดภัยกันเป็นประจำ จะเห็นได้
ชัดเจนมากขึ้นเมื่อมีอุบัติเหตุที่ช่องเขาตะโก รอยต่อกับจังหวัดสระแก้ว รถจะตกค้างยาวเหยียดนับสิบ
กิโลเมตร ที่เป็นเช่นนั้นเพราะไม่มีเส้นทางอื่นที่ใกล้กว่า ไม่ว่าจะเป็นเส้นมิตรภาพ-สระบุรี,หรือโคราช-
จันทบุรี
     แต่มาวันนี้ความเดือดร้อนของผู้คนในเขตสองข้างทางหรือ อำเภอโนนดินแดงทั้งอำเภอ ได้รับความ
ทุกข์ร้อนโดยเฉพาะจาก "ช้าง" ออกมาทำลายพืชผลที่ปลูกใว้ไม่เว้นแต่ละวัน แม้ว่าในป่าจะมีความ
สมบูรณ์อยู่มากก็ตามที่เป็นเช่นนั้นเพราะช้างมีจำนวนมากเหลือเกิน มันคงต้องมีผู้เกี่ยวข้องเอามาปล่อย
แน่ๆไม่เช่นนั้นมันคงไม่มากมายขนาดนี้ และช้างพวกนี้ไม่กลัวคน หากินตามบ้านแทบทุกวัน ทุกหมู่บ้าน
ต้องเจอหมด แต่มาบัดนี้มีการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกความหลายหลายทางธรรมชาติ และเสนอให้
ยกเลิกการขยายถนนสายนี้โดยสิ้นเชิง แล้วความเดือดร้อนของผู้คนละที่ต้องขึ้นลงขนส่งสินค้าและ
สินค้าการเกษตรไปมาหาสู่กัน ที่ได้ทำประชาคมถามความจำเป็นซ้ำซาก และที่จะเป็นศูนย์กลาง AEC
ล่ะหากเป็นมนุษย์แล้วไม่รู้จักคำว่า "การพัฒนา" มันก็คงต้องถอยเข้าป่าไป เพราะไม่เข้าใจแนว
"นโยบายแห่งรัฐ" ไม่รู้จักพัฒนาการอยู่ร่วมกัน "คนกับป่า" คงไม่มีประโยชน์ถ้าเป็นมรดกโลกฯแบบไม่
เข้าใจ แก้ปัญหาแบบกำปั้นทุบดินปิดหูปิดตาประชาชน ระวังเมื่อวันหนึ่งมันระเบิดขึ้นมาปัญหาที่ปิดใว้
ตัวใครก็ตัวมันละครับ

วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2561

คนไทยทำไมต้อง "พอเพียง"


      สังคมไทยมีลักษณะโครงสร้างแบบครอบครัวขนาดใหญ่ อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินที่สมบูรณ์ด้วยน้ำและความหลากหลายทางธรรมชาติ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ต่างจำเป็นต้องพึ่งพาฟ้าฝนเป็นอย่างมาก เพราะอาชีพของผู้คนส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดของสังคมไทยเป็นสังคม"เกษตรกรรม"ในยุคแรกเริ่ม ฉนั้นความมั่นคง และความมั่งคั่งทั้งหลายไม่อาจชีวัดด้วยเงินมาแต่แรก หากแต่วัดกันที่ เรือกสวนไร่นา ช้าง,ม้า,วัว,ควาย,ยุ้งฉางมีข้าวเต็ม ที่เปรียบแล้วดั้งทรัพย์สินหมุนเวียนและทรัพย์สินถาวร ที่มีค่าทวีตามวันเวลา ตราบที่ไม่เดือดร้อน การพึงพากันจึงเป็นดังการแลกเปลียน การทดแทนคุณค่า ให้เท่าเทียม แม้แต่ยามที่ต้องไปสู่ขอแต่งงาน ยังต้องทดแทนคุณค่ากันด้วยสินสอดที่เป็น ช้าง,ม้า,วัว,ควาย,ที่นาเป็นต้น
      ซึ่งต่างจากสังคมตะวันตกส่วนใหญ่ที่เติบโตมาจากการให้ความสำคัญกับนักปราชญ์,นักบวช และผู้ทรงภูมิปัญญาทั้งหลาย อาศัยความได้เปรียบในแง่ต่างๆแย่งชิงประเทศอื่นๆเป็นเมืองขึ้น แล้วเอาทรัพยากรไปใช้ ทั้งในแง่การค้า,การผูกขาด,กดดันเอาสัมปทานในรูปแบบต่างๆ มีสังคมแบบผู้ดี ฟุ้งเฟ้อ มาแต่แรก และเติบโตด้วยการค้าแบบได้เปรียบมาตลอด เพราะไม่สามารถยืนอยู่ด้วยทรัพยากรของตัวเองมาแต่แรก ด้วยสภาพดิน ฟ้า อากาศ ไม่ได้เอื่อการการทำการเกษตร
      ถึงตอนนี้แล้วอาจไม่ต้องตอบด้วยซ้ำว่า "คนไทยทำไมต้องพอเพียง" เพราะรูปแบบการใช้ชีวิตของคนไทยไม่ใช่ต้นทุนต่ำ แต่มันไม่มีต้นทุนด้วยซ้ำ แม้ยามจะกินก็พริก ผักข้างบ้านริมรั้ว ยามฝนก็มีเห็ดมีพืชผักในป่า หาปลาในหนองน้ำ,กบ,เขียด, กระปอม อื่นๆเยอะแยะ 
      เอาละถึงตอนนี้หลายอย่างมันเปลียนไปไม่เหมือนเดิมจะมาเปรียบเทียบกันได้อย่างไร ที่จริงแล้วรากเหง้าของปัญหาที่สำคัญของสังคมแบบ "บริโภคนิยม" หรือสังคมระบบทุนนิยมก็คือการเร่งเร้าให้เกิดการใช้จ่าย การบริโภค ซึ่งขัดกับกับหลักโครงสร้างทางสังคมไทยที่เน้นการพึ่งพาอาศัยกันและกัน การพึงพาตนเอง ความเป็นอยู่อย่างพอเพียงแต่มั่นคง มั่งคั่งโดยตัวมันเอง เมื่อระบบบริโภคนิยม เข้ามาแล้วความอยากมี อยากได้ มันสดวก มันสบายก็เข้ามาในชีวิต วิถีที่ดีงามก็เริ่มถูกมองข้าม รากเหง้าที่เป็นกรอบทางสังคม กรอบทางประเพณีวัฒนธรรมก็เริ่มเลือนหาย และเมือกรอบทั้งหลายมันเลือนหายและผุพัง คนก็ไม่อยู่ในวิถีที่จะดีได้เหมือนเดิม เมือสามัญสำนึกมันเริ่มแผ่วเพราะความจำเป็นในภาระการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ดอกเบี้ย,ค่างวด,หนี้สิน คนจึงมีต้นทุนสำหรับคำว่าดี เพราะปากกัดตีนทีบ ทำอย่างไรก็ต้องให้ได้มา มีอยู่วันหนึงไปทุ่งนากับลูกหลานคนในเมือง นึกขึ้นได้ว่าเด็กรุ่นหลังๆในเมืองรู้จักแต่ข้าวสวยร้อนๆในหม้อหุงข้าวไฟฟ้า จึงชีไปที่ต้นข้าวในทุงนาแล้วบอกว่า "นีแหละที่เป็นข้าวสวย"ให้พวกเองกิน มันมองหน้าสองครั้งแล้วสายหน้า พร้อมกับยิ้มแบบเด็กน้อยไร้เดียงสาแล้วพูดว่า "ไม่เชื่อ ไม่เห็นเหมือนเลย" ผมงงอยู่พักหนึง เรามาถึงจุดนี้ได้ไง
      ขออ้างถึงพระราชดำรัสของในหลวง ร.9 เรื่องทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง แม้จะไม่ได้รู้อะไรลึกซึ้ง แต่ก็พอทราบ ใช้หลักเดียวกันคือซีกรายได้มันต้องเท่ากับซีกรายจ่าย ถ้าไม่เท่าก็แปลว่าติดลบและชีวิตจริงมันลบไม่ได้ ถึงยังไงมันก็ต้องหามาเติม แรกๆก็หากู้,ยืม, ทั้งนอกทั้งในระบบ พอหนักเข้าก็เสี่ยงโชคเริ่มจากหวยใต้ดิน,ล็อดเตอรี่ หนักเข้าก็ไพ่,ไฮโรในงานศพตามชุมชน สุดท้ายก็เข้าบอนตามชายแดนเยอะเยะมีรถรับส่งฟรี บางคนก็โชคดีไปถูกหวยถูกลอ็ดเตอรี่ได้เงินก้อนมา แต่ก็เหมือนทุกข์ลาภไม่นานก็หมดชีวิตติดลบ เพราะอะไร เพราะคนไทยไม่ใช่คนค้าขายไม่ได้มีรากเหง่าบริโภคนิยม บริหารเงินไม่เป็นขาดสิ่งที่เรียกว่า Nkow how แต่หากอยู่ในเวทีมวยไทย หรือเกษตรกรไทย ก็ไม่อาจมีชาติใดในโลกที่ทัดเทียมคนไทยได้เช่นกัน

                                                                                                     สมชาย นามขยัน
  18 เม.ย. 2561