วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ช้างป่ากับชีวิตประชาชน

 ช้างป่า กับชีวิตประชาชน

    องค์การบริหารส่วนตำบลลำนางรองมีพื้นที่โดยประมาณ 271.9 ตารางกิโลเมตร พื้นที่อาศัยประมาณ 37.5 ตารางกิโลเมตร มีทั้งหมด 15 หมู่บ้าน ประชากรหมื่นกว่า มีการกระจายตัวของหมู่บ้านชุมชนอย่างสมบูรณ์แบบ แต่ละ กลุ่มบ้านห่างกัน ทั้งหมดตั้งอยู่บนป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งทางทิศใต้เป็นอุทยานแห่งชาติตาพระยา ทางทิศตะวันออกเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ตามทิศตะวันตกเป็นเขตอนุรักษ์สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ตัวอำเภอเองก็ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ทั้งหมดที่ว่านี้มีพรบที่เกี่ยวข้อง หลายฉบับ
     ในห้วงที่ผ่านมาหลายปี มีสัตว์ป่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งช้าง ทำร้ายประชาชนจนเกิดการสูญเสีย และบาดเจ็บ ซึ่งก็มีเหตุผลมาจาก การทำมาหากิน รุกล้ำเข้าไปเขตป่าและการที่สัตว์ ออกหาอาหารใน เขตหมู่บ้าน ชุมชนที่ติดป่า และรวมทั้งปัญหาประชากรช้างที่มีจำนวนมากขึ้น ทุกปี ยังขาด การบริหารจัดการที่ดีพอ เพราะบุคลากรที่รับผิดชอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีอัตรากำลังและงบประมาณที่จำกัดเต็มที ที่ผ่านมาก็มีเสียชีวิต ราว 18 ราย บางปีก็หลายราย บางปีก็น้อยราย แต่ปัญหาอยู่ที่ ใครจะชดเชย ท้องถิ่นก็ช่วยดูแลส่วนหนึ่งในเรื่องของพืชผลทางการเกษตร ตามกรอบ อำนาจหน้าที่บางพื้นที่รุกล้ำไปในเขตป่าก็ไม่สามารถจ่ายได้ ส่วนค่าตอบแทนการเสียชีวิตไม่ต้องพูดถึง ทำได้ยากยิ่ง เพราะเหตุว่า พรบ. ป่าไม้ เขาก็ออกแบบมา ให้รองรับกับบทบาทหน้าที่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ก็ในเมื่อถูกตัดเย็บออกมา สำหรับเขา สำหรับการทำงาน ของเขา มันจึงไม่สามารถปฏิบัติได้จริง เมื่อเกิดการสูญเสีย
     ที่ผ่านมา กฎหมายหรือพรบที่เกี่ยวข้อง ที่ให้อำนาจท้องถิ่น แบบจริงจังนั้นแทบไม่มี เราพูดถึงพรบกระจายอำนาจ แต่พอเข้าไปดูในแต่ละหัวข้อ ก็จะมีพรบเฉพาะของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีก บางอย่างเกินศักยภาพบางอย่างต้องรอกลไกคำสั่ง ในบทบาทของท้องถิ่นนั้นจะต่างจากหน่วยงานอื่น เพราะ ท้องถิ่น เอาทุกข์ยากความลำบากเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนเป็นที่ตั้ง แล้วค่อยไปดูข้อจำกัดด้านกฎหมายและบทบาทหน้าที่ บางครั้งท้องถิ่นมีงบประมาณที่เกี่ยวข้อง แต่ต้องยอมรับว่า เมืองไทย มีหลายหน่วยงานองค์กร กฎหมายถูกออกแบบ ให้มีลักษณะเฉพาะ หรืออำนาจ ในแนวดิ่ง เมื่อมาถึงระดับล่าง มันจึงใช้ไม่ได้ผลจริงแม้จะพยายามบูรณาการแล้วก็ตาม คงอาศัยได้เพียงหาช่องไปเท่านั้น
     หากจะแก้ปัญหาคนกับป่า ปัญหาช้าง หรือสัตว์ป่าทำร้ายผู้คน คงต้องเป็น มติ ระดับครม ตั้งคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง หลายส่วนทีเดียว เป้าหมายปลายทางก็คือ การ แก้ไขปัญหาดังกล่าว หรือเอา output เป็นตัวตั้ง แล้ว ติดขัด หลายพ.ร.บนั้น ต้องหาทางออก ทั้งในแง่ วิชาการ ในแง่ของ Big Data ในแง่ของ วิถีชุมชน ไม่ว่าจะเป็น ระเบียบกรมบัญชีกลางเรื่องการเบิกจ่าย พรบสัตว์ป่าและพันธุ์พืชพ.ร.บป่าไม้ พรบ ป้องกันบรรเทาสาธารณภัย พรบการกระจายอำนาจ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้ว ค่อยโยงมา สู่การตั้งงบประมาณภารกิจที่เกี่ยวข้อง การติด GPS การ สร้าง App เพื่อให้ผู้ใหญ่ ผู้นำชุมชนได้รู้ความเคลื่อนไหวแจ้งเตือน ก่อนความเสียหายจะเกิดขึ้น หรือชีวิตของอาสาป้องกัน ช้าง ไม่เพียงแต่เรื่องของค่าจัดการศพแต่สวัสดิภาพสวัสดิการมีแค่ไหนอย่างไร ท้ายที่สุดทุกฝ่ายคงต้องยืนอยู่บน ข้อมูลพื้นฐานร่วมกัน วิถีชุมชน ที่คนกับป่า เคยอาศัยเกื้อกูลกัน อย่างสอดคล้องต้องกลับคืนมา เป็นสำคัญให้ได้ ขอเถอะครับ สิ่งที่จะเอื้อเกื้อกูลต่อทุกข์ยากความลำบากของพี่น้องประชาชนสั่งตัดได้ก็ทำเถอะครับ ตัดเย็บให้พวกเขา ให้สมกับที่ ท่านได้อาสาเข้ามา ช่วยเหลือประชาชนแล้ว

วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ทำไมต้องพรบ อาหารและโภชนาการ ชุมชน

 ทำไมต้องพรบ อาหารและโภชนาการ ชุมชน

     พูดถึงเรื่องอาหารการกินในวิถีชาวบ้านเป็นเรื่องใหญ่ แขกไปใครมา ก็มักถามเป็นเรื่องแรก กินข้าวหรือยัง การต้อนรับขับสู้ ที่สำคัญก็ไม่พ้นเรื่องของการกินเราต้องยอมรับว่า คนไทยนั้นเป็นวิถีของเกษตรกร เรื่อง ข้าวปลาอาหารนั้น ไม่ต้องห่วง มีอยู่ล้นเหลือตั้งแต่อดีตกาลมา ส่วนเรื่องของการปรุงนั้น นับเป็น Soft Power ที่สำคัญของคนไทยความลึกในวิถีการปรุงอาหาร การกินนั้นล้วนเต็มไปด้วยเมนูคุณภาพทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นต้มยำกุ้ง หรือต้มข่าไก่ ที่ในระดับโลกต่างยกย่องว่าเป็นซุปที่ดีที่สุดในโลก และอาหารในระดับท้องถิ่น ที่เป็นภูมิปัญญา ในแต่ละภาคก็เช่นกัน

     ในยุคปัจจุบัน วิถี ชีวิตการทำมาหากินเปลี่ยนไป การทำงานก็เปลี่ยนไป การอยู่การกินล้วนยากลำบากขึ้น โลกของทุนนิยมบริโภคนิยม ต่างถาถมมา เมนูแต่ละอย่างก็ยากที่จะแยกแยะ ถึงพิษภัย โทษต่างๆของอาหารไม่ว่าจะเป็น เปรี้ยวจัดหวานจัดมันจัดเค็มจัด อาหารแปรรูป หลายๆชนิด ที่คนอายุรุ่นผม อาจตามไม่ทัน องค์ความรู้ด้านโภชนาการ ก็ไม่ได้มีมากนัก พอพูดถึงเด็กรุ่นหลังๆ ผมจำได้ครั้งหนึ่ง พาหลานที่มีวิถีอยู่ในกรุงเทพฯ ไปดูทุ่งนา ชนบท ผมนึกขึ้นได้ว่าเด็กรุ่นนี้อาจไม่รู้จัก ต้นข้าว ผมเลย บอกหลานว่าข้าวสวยที่กินทุกวันอยู่ในหม้อหุงข้าวก็คือ ท้องทุ่ง นี้แหละ ปรากฏว่าหลานหัวเราะขำกลิ้งส่ายหัวบอกไม่เชื่อ แม้แต่อุปกรณ์ในครัว เช่นกระต่าย เดี๋ยวนี้ก็ไม่รู้จัก เด็กอีสาน หลายคนไม่รู้จักคีไฟ พอพูดถึง สภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน ตำบลที่ผมอยู่อาศัย ในฐานะที่ ทำงาน เกี่ยวข้อง กับ ท้องถิ่น ก็พบว่า มีเบาหวานความดันหรือที่เรียกว่าโรค ncd เต็มไปหมด ผมไปงานศพน่าจะเกิน 90% ของผู้วายชนม์มีจำนวนมากขึ้น อย่างอธิบายไม่ได้ ซึ่งผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ ตายด้วยโรค ncd ทั้งนั้น ในแต่ละปี อาจจะมีหมดอายุขัยเพียง 1-2 คนเท่านั้นสำหรับประชากร 11,000 คน มีผู้สูงอายุ 15% และผู้พิการอีก 5%

        สิ่งที่อยากถาม ก็คือว่า แล้วยังไง ใครรับผิดชอบ หรือนี่คือยะถากรรม ประชุมครม. นัดแรก ดีใจที่มีมติ เรื่อง Soft Power เราบอกว่า ประเทศไทยจะเป็นครัวโลก เราคือหนึ่งใน 22 ประเทศ ทั้งโลก เป็นผู้ส่งออกอาหาร ในระดับโลก เรามีนักท่องเที่ยวเข้าสู่ประเทศไทยลาว 12.4 ล้านคน ถ้า คิดเป็นกินข้าว คงได้ราว 650 ตันต่อวัน ในแง่ของมาตรฐาน เรามีมาตรฐานอยในสินค้าสำเร็จรูป เรามีมาตรฐานอุตสาหกรรมในสินค้าเครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ เรามีพรบเยอะแยะมากมาย ด้านสาธารณสุขเรามีพรบสาธารณสุข เรามีพรบอาหารและยา แต่เรายังไม่มีพรบอาหารและโภชนาการชุมชน เราไม่มีคำตอบ ถึงมาตรฐานของร้านอาหาร การปรุง อาหารในโรงแรม ผู้ประกอบการอาหาร ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอาหารในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เราบอกว่าเรากระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่นหรืออปท ต้องถาม จริงหรือเปล่า ณวันนี้ ท้องถิ่นจะซื้อนม ต้องรอใบแจ้งจัดสรรจากเบื้องบน การจัดสรรนมล่าช้า สิ่งที่เรียกว่า แหล่งน้ำ ก็ มีหน่วยงาน กรมน้ำ กรมอุทกพัฒน์ กรมชล ต่างๆ ณปัจจุบันอาจตอบไม่ได้ว่าขอบเขตของการกระจายอำนาจนั้นท้องถิ่นมีอำนาจจริงๆหรือเปล่าแค่ไหนอย่างไร

         วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของคนไทยนั้นไม่เหมือนฝรั่งมังค่า ที่จะมานั่งล้อมวงกันแชร์ปัญหา แบ่งความรับผิดชอบแล้วนำไปปฏิบัติ คนไทยมักถนัด ดูเขาทำ ฟังเขาพูด "กูว่าแล้ว" เป็นหลัก เป็นหลัก มิฉะนั้น สภาชุมชนอาหาร และโภชนาการ จึงยังไม่ได้ผลในทางปฏิบัติมากนัก สิ่งที่ได้ผลที่ผ่านมา และเป็นอยู่ ก็คือเรื่องของกฎหมายหรือพรบที่เกี่ยวข้อง เมื่อมีหลักยึด ย่อมมีคำสั่งการมีแนวปฏิบัติ และการมอบหมายการกระจายความรับผิดชอบ การพัฒนา ก็เป็นไปตามกรอบที่ควรเมื่อมีประเด็นสั่งการแนวทางใหม่ ก็ขับเคลื่อนเป็นหลัก ด้วย ข้อกฎหมายพรบ เราไม่ได้พูดถึงสิ่งที่มีอยู่แล้วและไม่เหมือน พรบอาหารและยา และไม่เหมือน พ.ร.บสาธารณสุข แต่เป็นพรบที่ รับผิดชอบ ต่อเด็ก ต่อนักเรียน ต่อวัดต่อชุมชน และมาตรฐานที่มองได้และเห็นชัดในเรื่องของอาหารและโภชนาการ เห็นต่างประเทศ เขาอยากขายยางรถยนต์ มิชลิน เขายังดั้นด้น สร้างมาตรฐานรับรอง อาหารมิชลิน เราที่กล่าวว่า เป็นครัวโลก มีรายได้หลัก เกือบ 30% จากการท่องเที่ยวเงินเข้าประเทศ แล้วยังไงล่ะครับ บ้านผม เขาไม่ถือว่าเป็นงานบุญนะครับ หากเจ้าภาพไม่มี


วันพุธที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ท้ายที่สุดก็เป็นได้แค่นโยบายแบบหว่านแห

 

ท้ายที่สุดก็เป็นได้แค่นโยบายแบบหว่านแห

            หลังจากเสร็จสิ้นการเลือกตั้งไปหมาดๆ หุ้นก็ถูกเทขายสนั่น เกิดอะไรขึ้น ในระยะหลังๆนี้นโยบายพรรคการเมืองดูเหมือนจะเป็นเรื่องหลักที่ทุกพรรคต่างนำมาลดแลกแจกแถมกันสนั่นหวั่นไหว โดยธงหลักของแต่ละพรรคก็เห็นจะคำนวณจากเม็ดคะแนนเสียงเป็นตัวตั้งทำอย่างไรจะได้คะแนนเสียงให้ได้มากที่สุด ครอบคลุมที่สุด ส่วนทำได้หรือไม่ค่อยว่ากันในทางปฏิบัติ ซึ่งจะสอดคล้องตรงกับยุทธศาสตร์ชาติหรือไม่ ช่างมัน และที่สำคัญก็คิดเองว่าเป็นความจำเป็น เป็นความต้องการ เป็นการเรียกร้องจากประชาชน ถามว่าได้สัมผัสกับชาวบ้านกี่คน ใครเป็นคนคิด เอาเงินไปให้เขาๆก็เอา ไม่เอาซิแปลก นโยบายหาเสียงอย่างนี้เขาเรียกว่า ตอบอะไรก็ได้แล้วค่อยไปตั้งโจทย์ หรือนโยบายแบบ “จิกซอ” วางอย่างไรเรื่องของข้า จะเห็นเป็นภาพหรือเปล่าช่างมัน

            ผมทำงานกับท้องถิ่นมาพอสมควรสิ่งที่เป็นอยู่คือ ท้องถิ่นเป็นแค่ทางผ่านงบประมาณของหลายๆหน่วยงาน ซึ่งก็มีแนวทาง ระเบียบ และหลักการใช้งบประมาณที่ต่างกันออกไป ไม่ได้บูรณาการร่วมกันอย่างแท้จริงนอกจากปัญหาข้างต้นแล้วก็อาจเกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่ หรือการยอมรับให้ท้องถิ่นเป็นแนวหน้าขับเคลื่อนคงทำได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายบัญชาการแนวดิ่งนั้นเป็นปัญหาโดยตัวมันเอง นี่คงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่การบูรณาการไม่ได้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง

            ประเด็นนโยบายแบบหว่านแหนั้นแม้จะมีความเข้าใจและเห็นใจในฐานะนักการเมืองท้องถิ่นคนหนึ่งเหมือนกัน เท่าที่นั่งดูมานานก็เห็นว่าไอ้ที่ตรงจริงๆมีไม่ถึงครึ่งแต่ที่สร้างภาระและปัญหาให้กับประเทศในระยะยาวนี่ซิควรจะคิดให้หนักๆ ไม่ว่าจะเป็นภาระการเงินการคลังของประเทศ ภาระภาษีประชาชน ภาระประชาชนในแง่ของการแบมือเรียกร้องจากรัฐโดยที่รัฐไม่ได้มีการคำนึงถึงปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งในเชิงโครงสร้าง และปัจจัยที่เอื่อให้ประชาชนเข้มแข็ง ชุมชนพึ่งพาตนเองได้อย่างแท้จริง แม้ว่าวันนี้ท่านอาจชนะเลือกตั้ง แต่จะอีกกี่ครั้งละที่ลดแลกแจกแถมแล้วยังไม่ได้เข้ามาหรือว่าจะใช้วิธีขู่ลงถนนทุกครั้งไป

วันอาทิตย์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2566

เลือกตั้งทั้งที..มีแค่นี้หรือ

 

เลือกตั้งทั้งที..มีแค่นี้หรือ

            ในห้วงนี้ก็มาบรรจบครบรอบการเลือกตั้งกันอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งต่างคนต่างพรรคก็พยายาม

หากลยุทธ์มาแข่งขันมาประหัตประหารกันอย่างชนิดไม่ยอมกันหลักๆก็คงมีราวๆ 3 แนวทางคือ

            1.ด้านนโยบายเน้นการลดแลกแจกแถม บางครั้งแฝงมากับสวัสดิการประชาชนฉาบฉวย

ที่เป็นเหมือนภาพจิกซอของนโยบาย แล้วแต่ข้าจะคิดได้บนพื้นฐานเม็ดคะแนนเป็นที่ตั้งโดย

ไม่ได้คำนึงถึงผลระยะยาวทั้งในแง่ของผลกระทบ “การรับจนเคยชินของประชาชน” ทั้งที่แผน

สวัสดิการรัฐก็มิได้มีการเดินอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และแผนระยะยาวว่าสอดคล้องกับเป้าหมาย

หรือไม่อย่างไร

            2.ด้านโครงสร้างพื้นฐาน การลงทุน การขายฝันต่างๆ ถึงแม้จะอ้างแผนพัฒนาแห่งชาติ

พอมีอำนาจขึ้นมาก็ไมแคล้วขัดต่อนู้นนี่นั้นสารพัดท้ายสุดก็ชะลอ เปลี่ยนสัญญา แก้ไขเพิ่มเติม

สารพัด เพื่อตอบโจทย์ตนหรือเครือขายธุรกิจตน

            3.การโจมตีพรรคคู่แข่ง ประเด็นจุดอ่อนคู่ต่อสู้ โดยเฉพาะพรรคที่มีแนวโน้มชนะการ

เลือกตั้ง หรือมีภาพลักษณ์ดีมีความเป็นไปได้ที่จะได้นั่งนายก ถ้าหากประเด็นไม่พอ กระแสมัน

ไม่ได้ก็ต้องอาศัยกลไกลโซเซียล และการปลุกกระแสวัยรุ่น นักศึกษา ผ่านเครือขาย ครูในรั้ว

มหาลัยลากการเมืองลงถนน ไม่สนวิธีการ

            ที่พูดมาทั้งหมดนี้ก็อยากบอกว่าได้รับฟังประชาชนแบบจริงจังหรือเปล่า ถ้าชีวิต

ประชาชนตาดำๆต้องตอบโจทย์แค่นี้ ทำได้แค่นี้หรือ ชีวิตความเป็นอยู่ก็สำคัญ นโนบายที่มุ่ง

ตอบสนองต่อวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ มาตรฐานด้านสุขภาพเกณฑ์อยู่ใหน มาตรฐานด้านการศึกษา

แข่งขันได้จริงหรือ ความเหลือมล้ำทางการศึกษาล่ะ หลักสูตรได้มาตรฐานพอหรือยัง ตอบโจทย์

หรือไม่ นโยบายที่มุ่งส่งเสริมจุดแข็งของประเทศในด้านต่างๆละและที่สำคัญได้เดินตามแผนที่

ได้วางไว้ สอดคล้องหรือไม่อย่างไร ไม่ใช่แล้วแต่ข้าดีแล้ว ตอบสนองต่อข้าจึงเอามาใส่ อย่างนี้

คงอายนานาประเทศเขา เพระเขาเรียกว่ามวยวัด หรือมวยกุญขแมก็ไม่ผิดนัก

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

บทบาทท้องถิ่นกับความปลอดภัยในอาหาร..หรือใครที่ควรรับผิดชอบ

 บทบาทท้องถิ่นกับความปลอดภัยในอาหาร..หรือใครที่ควรรับผิดชอบ

เมื่อได้ก้าวเข้ามาในบทบาทของนายก อบต.งานที่สำคัญคือการขับเคลือนนโยบายที่ได้เคยหาเสียงใว้นั้นคือ “เอาความสุขความมั่งคั่งอย่างยั่งยืนของพี่น้องชาวตำบลลำนางรองเป็นที่ตั้ง” จึงต้องกลับมาดูถึงปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือ ข้อจำกัดต่างๆที่มีอยู่ พอเข้ามาก็ได้มีโอกาสร่วมงานและไปพบปะพูดคุยกับ คกกฯ ของ สสส.ที่ได้มาตรวจโรงเรียนบ้านป่าไม้สหกรณ์ ซึ่งได้รับรางวัลในระดับประเทศจากทาง สสส.และมูลนิธิ มธส. ปรากฏว่าแนวทางส่วนใหญ่สอดคล้องตรงกับในหลายประการ

คำถามคำใหญ่ก็มีอยู่ว่า “อาหารปลอดภัย” ใคร.? คือผู้รับผิดชอบ ปรากฏว่ายังไม่มีหน่วยใหนที่สามารถตอบได้ตรงคำถาม ณ.ปัจจุบันนี้เราต้องยอมรับว่าโรคภัยไข้เจ็บที่ไม่ได้ติดต่อ หรือ NCD นั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและรุนแรงขึ้นทุกปี ถึงขนาดมี บมจ.จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ดำเนินธุรกิจบริการฟอกไต อื่นๆ แม้อ้างได้ในแง่ปัจจุบันคนเราอายุยืนขึ้น แต่เคยสำรวจห่วงก่อนตายหรือไม่ว่า นอนติดเตียงกี่ปี เป็นผักนานแค่ใหน ช่วยหลือตนเองไม่ได้มากเท่าได ที่เห็นชัดๆคือมีโรงพยาบาลเอกชนจดทะเบียนมหาชนในตลาดหลักทรัพย์เพิ่มขึ้นตลอดเวลา โรงพยาบาลรัฐเพิ่มตึกผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ส่วนทางกับคำว่า “อาหารปลอดภัย” ใคร..รับผิดชอบ” 

สิ่งที่เป็นปัญหาอย่างยิ่งประการหนึ่งคือข้อจำกัดด้าน กฎหมาย ระเบียบปฎิบัติ หลายรัฐบาลพยายามอ้างถึงการกระจายอำนาจลงมายังท้องถิ่น แต่ที่เป็นจริงคือไปยุ่งอะไรกับเขาไม่ได้เลยเป็นแค่เพียงทางผ่านของงบประมาณเท่านั้น เรามีลูกหลานเราเก่งคณิตศาสตร์ระดับโลกเหรียนทอง แต่คนไทย “ใช้เงินไม่เป็น” ไม่รู้หลักการออม การบริหารความเสี่ยง กว่า 70 เปอร์เซ็นต์คนไทยมีเงินฝากน้อยก่วา 50,000 บาท เรามีวิชาสุขศึกษา และที่เกี่ยวข้องแต่คนไทยกินไม่เป็น องค์ความรู้ความเข้าใจถึงการบริโภคและพิษภัยผลกระทบมีมากน้อยแค่ใหน ทำไมการเสียชีวิตที่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคจึงมีจำนวนมากขึ้นทุกปี

สิ่งที่ผมพยายามขับเคลือนนโยบายก็คือ ประการแรกคือให้มีคำสั่งแต่ตั้ง “สภาอาหารและโภชนาการลำนางรอง” เพื่อให้ได้มีพื้นที่หรือเวทีความร่วมมือในพื้นที่ อบต. ปรากฏว่า “อำนาจ” ยังไม่มี ไปไม่ถึง เพราะเราต้องการภาคส่วนต่างๆมาต่อจิกซอร่วมกันโดยอาศัย องค์ความรู้เฉพาะด้านและกรอบของอำนาจหน้าที่ของส่วนต่างๆเช่น ด้าน การเกษตรปศุสัตว์สหกรณ์, ด้านสาธารณะสุข,ด้านพัฒนาการ, ด้านประมงหรืออื่นๆ อำนาจแต่ตั้งไม่มี แต่ก็ได้รับความกรุณาจากท่านนายอำเภอท่านกรุณาเซ็นต์แต่งตั้งให้ และก็ได้จัดให้มี “ตลาดเขียว” โดยตั้งใจเพิ่มช่องทางการตลาดให้แต่กลุ่มชาวบ้านแท้ๆที่ยังไม่ถนัดการขายมากนักมีช่องทางนำพืชผักที่ปลูกหรือข้างบ้านริมรั้วมาจำหน่ายเพราะพืชผักกลุ่มนี้ “ปลอดสารพิษ” แน่นอน อีกกลุ่มก็เป็นกลุ่มวิสาหกิจต่างๆในพื้นที่ๆมีทุนหมุนเวียนอยู่เดิมอยู่แล้วตกทอดมาราว 40 ปีที่แล้วสมัยช่วงนโยบาย “มิยาซาว่า” เรียกว่ากองทุน “เศรษฐกิจชุมชน” ผลักดันลงไปตามกรอบอำนาจหมู่บ้านละไม่เกินแสนถ้ามากกว่านั้นเกินอำนาจ โดยไม่มีดอกเบี้ย ในขณะที่ความรอบรู้ก็ไม่มากบุคลากรทางด้าน โภชนาการก็น้อยมากนับตัวได้ 

สิ่งเหล่านี้และอีกหลายต่อหลายอย่างก็ฝากผู้เกี่ยวข้อง และมีอำนาจทั้งหลายหันกลับมาดูเถอะครับถึงแม้ท่านจะไม่ได้ยินเสียงบ่น ด่า แต่วาระความยิ่งใหญ่นั้นมีห่วงเวลาจำกัดเสมอ เพราะความยิ่งใหญ่จำต้องมีทุกเม็คคะแนนของผู้คนคอยเกื่อกูลเสมอ เมื่อขึ้นเวทีแล้ว หันกลับมาดูแลพี่น้องลูกหลานเถอะครับ

สันติ  นาวีสัมพันธ์

    นายกอบต.ลำนางรอง