วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

บทบาทท้องถิ่นกับความปลอดภัยในอาหาร..หรือใครที่ควรรับผิดชอบ

 บทบาทท้องถิ่นกับความปลอดภัยในอาหาร..หรือใครที่ควรรับผิดชอบ

เมื่อได้ก้าวเข้ามาในบทบาทของนายก อบต.งานที่สำคัญคือการขับเคลือนนโยบายที่ได้เคยหาเสียงใว้นั้นคือ “เอาความสุขความมั่งคั่งอย่างยั่งยืนของพี่น้องชาวตำบลลำนางรองเป็นที่ตั้ง” จึงต้องกลับมาดูถึงปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือ ข้อจำกัดต่างๆที่มีอยู่ พอเข้ามาก็ได้มีโอกาสร่วมงานและไปพบปะพูดคุยกับ คกกฯ ของ สสส.ที่ได้มาตรวจโรงเรียนบ้านป่าไม้สหกรณ์ ซึ่งได้รับรางวัลในระดับประเทศจากทาง สสส.และมูลนิธิ มธส. ปรากฏว่าแนวทางส่วนใหญ่สอดคล้องตรงกับในหลายประการ

คำถามคำใหญ่ก็มีอยู่ว่า “อาหารปลอดภัย” ใคร.? คือผู้รับผิดชอบ ปรากฏว่ายังไม่มีหน่วยใหนที่สามารถตอบได้ตรงคำถาม ณ.ปัจจุบันนี้เราต้องยอมรับว่าโรคภัยไข้เจ็บที่ไม่ได้ติดต่อ หรือ NCD นั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและรุนแรงขึ้นทุกปี ถึงขนาดมี บมจ.จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ดำเนินธุรกิจบริการฟอกไต อื่นๆ แม้อ้างได้ในแง่ปัจจุบันคนเราอายุยืนขึ้น แต่เคยสำรวจห่วงก่อนตายหรือไม่ว่า นอนติดเตียงกี่ปี เป็นผักนานแค่ใหน ช่วยหลือตนเองไม่ได้มากเท่าได ที่เห็นชัดๆคือมีโรงพยาบาลเอกชนจดทะเบียนมหาชนในตลาดหลักทรัพย์เพิ่มขึ้นตลอดเวลา โรงพยาบาลรัฐเพิ่มตึกผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ส่วนทางกับคำว่า “อาหารปลอดภัย” ใคร..รับผิดชอบ” 

สิ่งที่เป็นปัญหาอย่างยิ่งประการหนึ่งคือข้อจำกัดด้าน กฎหมาย ระเบียบปฎิบัติ หลายรัฐบาลพยายามอ้างถึงการกระจายอำนาจลงมายังท้องถิ่น แต่ที่เป็นจริงคือไปยุ่งอะไรกับเขาไม่ได้เลยเป็นแค่เพียงทางผ่านของงบประมาณเท่านั้น เรามีลูกหลานเราเก่งคณิตศาสตร์ระดับโลกเหรียนทอง แต่คนไทย “ใช้เงินไม่เป็น” ไม่รู้หลักการออม การบริหารความเสี่ยง กว่า 70 เปอร์เซ็นต์คนไทยมีเงินฝากน้อยก่วา 50,000 บาท เรามีวิชาสุขศึกษา และที่เกี่ยวข้องแต่คนไทยกินไม่เป็น องค์ความรู้ความเข้าใจถึงการบริโภคและพิษภัยผลกระทบมีมากน้อยแค่ใหน ทำไมการเสียชีวิตที่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคจึงมีจำนวนมากขึ้นทุกปี

สิ่งที่ผมพยายามขับเคลือนนโยบายก็คือ ประการแรกคือให้มีคำสั่งแต่ตั้ง “สภาอาหารและโภชนาการลำนางรอง” เพื่อให้ได้มีพื้นที่หรือเวทีความร่วมมือในพื้นที่ อบต. ปรากฏว่า “อำนาจ” ยังไม่มี ไปไม่ถึง เพราะเราต้องการภาคส่วนต่างๆมาต่อจิกซอร่วมกันโดยอาศัย องค์ความรู้เฉพาะด้านและกรอบของอำนาจหน้าที่ของส่วนต่างๆเช่น ด้าน การเกษตรปศุสัตว์สหกรณ์, ด้านสาธารณะสุข,ด้านพัฒนาการ, ด้านประมงหรืออื่นๆ อำนาจแต่ตั้งไม่มี แต่ก็ได้รับความกรุณาจากท่านนายอำเภอท่านกรุณาเซ็นต์แต่งตั้งให้ และก็ได้จัดให้มี “ตลาดเขียว” โดยตั้งใจเพิ่มช่องทางการตลาดให้แต่กลุ่มชาวบ้านแท้ๆที่ยังไม่ถนัดการขายมากนักมีช่องทางนำพืชผักที่ปลูกหรือข้างบ้านริมรั้วมาจำหน่ายเพราะพืชผักกลุ่มนี้ “ปลอดสารพิษ” แน่นอน อีกกลุ่มก็เป็นกลุ่มวิสาหกิจต่างๆในพื้นที่ๆมีทุนหมุนเวียนอยู่เดิมอยู่แล้วตกทอดมาราว 40 ปีที่แล้วสมัยช่วงนโยบาย “มิยาซาว่า” เรียกว่ากองทุน “เศรษฐกิจชุมชน” ผลักดันลงไปตามกรอบอำนาจหมู่บ้านละไม่เกินแสนถ้ามากกว่านั้นเกินอำนาจ โดยไม่มีดอกเบี้ย ในขณะที่ความรอบรู้ก็ไม่มากบุคลากรทางด้าน โภชนาการก็น้อยมากนับตัวได้ 

สิ่งเหล่านี้และอีกหลายต่อหลายอย่างก็ฝากผู้เกี่ยวข้อง และมีอำนาจทั้งหลายหันกลับมาดูเถอะครับถึงแม้ท่านจะไม่ได้ยินเสียงบ่น ด่า แต่วาระความยิ่งใหญ่นั้นมีห่วงเวลาจำกัดเสมอ เพราะความยิ่งใหญ่จำต้องมีทุกเม็คคะแนนของผู้คนคอยเกื่อกูลเสมอ เมื่อขึ้นเวทีแล้ว หันกลับมาดูแลพี่น้องลูกหลานเถอะครับ

สันติ  นาวีสัมพันธ์

    นายกอบต.ลำนางรอง